อาหารของประเทศอินโดนีเซีย

อาหารของประเทศอินโดนีเซีย



อาหารอินโดนีเซีย (อินโดนีเซียMasakan Indonesia) เป็นอาหารทีมีความหลากหลายทางด้านรูปลักษณ์และสีสัน]เพราะประกอบด้วยประชากรจากเกาะต่าง ๆ ที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะจากทั้งหมด 18,000 เกาะ มีอาหารเฉพาะถิ่นจำนวนมาก และได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ ทำให้อาหารอินโดนีเซียมีความหลากหลายตามพื้นที่และมีอิทธิพลจากต่างชาติที่หลากหลาย อินโดนีเซียมีความเกี่ยวข้องกับเส้นทางการค้ามาแต่อดีต มีเทคนิคและส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์ และได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ตะวันออกกลาง จีน และท้ายที่สุดคือยุโรป พ่อค้าชาวสเปนและโปรตุเกสได้นำผลิตภัณฑ์จากโลกใหม่เข้ามาก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้ามายึดครองหมู่เกาะเกือบทั้งหมดเป็นอาณานิคม หมู่เกาะโมลุกกะหรือมาลูกูของอินโดนีเซียได้รับสมญาว่าหมู่เกาะเครื่องเทศ ซึ่งเป็นแหล่งของเครื่องเทศ เช่น กานพลู จันทน์เทศ วิธีการปรุงอาหารหลัก ๆ ของอินโดนีเซียได้แก่ ผัด ย่าง ทอด ต้ม และนึ่ง อาหารอินโดนีเซียที่เป็นที่นิยมได้แก่ นาซีโกเร็งหรือข้าวผัด[3] กาโดกาโด[4][5] สะเต๊ะ[6] และโซโต ซึ่งเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะและถือเป็นอาหารประจำชาติ
อาหารสุมาตราได้รับอิทธิพลจากอาหารตะวันออกกลางและอาหารอินเดีย โดยเฉพาะแกงเนื้อและผักเช่นกูไลและการี ในขณะที่อาหารชวามีลักษณะเป็นท้องถิ่นมากกว่า[2] อาหารของอินโดนีเซียตะวันออกคล้ายกับอาหารพอลินีเซียและเมลานีเซีย มีบางส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน เช่น บักหมี่หรือเส้นหมี่ บะก์โซ (ลูกชิ้นปลาหรือเนื้อ) และลุมเปียหรือเปาะเปี๊ยะ

อาหารหลายชนิดที่มีจุดกำเนิดในอินโดนีเซียได้กลายเป็นอาหารที่แพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาหารอินโดนีเซีย เช่น สะเต๊ะ เรินดังเนื้อ ซัมบัล เป็นที่นิยมในมาเลเซียและสิงคโปร์ อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เต็มเป ก็เป็นที่นิยมด้วย เต็มเปนั้นถือว่ามีจุดกำเนิดในชวา อาหารหมักดองอีกชนิดหนึ่งคืออนจมซึ่งคล้ายเต็มเปแต่ใช้ส่วนผสมอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง และหมักด้วยราที่ต่างออกไป และเป็นที่นิยมในชวาตะวันตก

าโดกาโด (อินโดนีเซีย) อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุกด้วย กาโดกาโดจะนำมารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง


แกงกะหรี่เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลจากแกงแบบมัสล่าหรือแกงกุรุหม่าของอินเดียใต้ ซึ่งมีน้ำมากกว่าแกงกุรุหม่าทางอินเดียเหนือ เครื่องเทศหลักที่ใช้ในแกงกะหรี่แบบอินเดีย-ปากีสถาน ได้แก่ ลูกผักชี ยี่หร่า พริกป่นอินเดีย พริกไทยป่น ขมิ้น ลูกกระวานเทศ กานพลู อบเชย นิยมโรยหน้าด้วยใบสำมาหลุย ถ้าเป็นกะหรี่ไก่เพิ่มลูกซัด แกงกะหรี่ปูเพิ่มโป๊ยกั้ก


แกงมัสมั่น เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทยออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมัน
แกงมัสมั่นแบบชาวมุสลิมปักษ์ใต้ ต่างจากการปรุงแกงมัสมั่นของชาวไทยภาคกลางคือ จะไม่ทำเป็นน้ำพริกแกงมัสมั่น แต่จะผสมลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกป่นอินเดียและพริกไทยป่นไว้เป็นผงเครื่องแกง จากนั้นจึงนำลงไปผัดกับน้ำมันที่เจียวหัวหอมแล้ว ส่วนแกงมัสมั่นแบบมลายู-ชวา จะใส่กานพลู อบเชย ลงไปผัดกับน้ำมันและหอมแดงจนหอม แล้วจึงใส่พริกป่นอินเดีย ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกไทยป่นลงไปผัดให้เข้ากัน นอกจากนั้นยังใส่มะพร้าวคั่ว ผงขมิ้นดอกไม้จีนและหน่อไม้จีนด้วย


ข้าวยำ หรือ ข้าวยำบูดู เป็นอาหารไทยภาคใต้ โดยถือกันว่าเป็นอาหารที่ครบโภชนาการมากที่สุด และมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างโดยเป็นอาหารจานเดียวที่มีน้ำปรุงราด



ฆูไล (Gulai) เป็นแกงรสเผ็ด มักปรุงกับเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา อาหารทะเล หรือผักเช่น ใบมันสำปะหลังและขนุนอ่อน น้ำแกงมักเป็นสีเหลืองเพราะเติมผงขมิ้น เครื่องแกงที่ใช้ ได้แก่ ขมิ้น ผักชี พริกไทยดำ ขิง ข่า พริกขี้หนู หัวหอม กระเทียม ยี่หร่า ตะไคร้ อบเชย ลูกผักชี ซึ่งตำให้ละเอียด และนำไปปรุงกับกะทิ พร้อมกับส่วนผสมหลัก


ซีโอมาย หรือ โซมาย (Siomay, Somay) เป็นขนมจีบหรือเกี๊ยวปลาแบบอินโดนีเซีย ปรุงด้วยการนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากติ่มซำในอาหารจีน ทำจากปลาน้ำจืดหรือปลาทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาแมกเคอเรล หรือกุ้ง นำมายัดไส้ใส่ในกะหล่ำปลี มันฝรั่ง มะระ และเต้าหู้ ทำเป็นชิ้นใหญ่ ด้านบนใส่ซอสถั่วลิสง ซีอิ๊วหวาน ซอสพริก และน้ำมะนาว
ซีโอมายเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารของชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน ต่างกันที่ซีโอมายกินกับซอสถั่วลิสงด้วย แต่ของชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนจะกินกับซีอิ๊วหวานและซอสพริกเท่านั้น ซีโอมายที่มีชื่อเสียงคือที่บันดุง และพบซีโอมายมากในอาหารของชาวซุนดาและผู้ขายซีโอมายก็มักเป็นชาวซุนดา ซีโอมายมีลักษณะใกล้เคียงกับบาตาฆอร์ เพียงแต่เบตาฆอร์ทำให้สุกด้วยการทอด ส่วนซีโอมายนั้นนำไปนึ่ง


ตีนูตวน (Tinutuan) หรือ บูบุร มานาโด เป็นโจ๊กของชาวมานาโด กินกับผักเช่นผักโขม ผักบุ้ง ข้าวโพด ฟักทองมันเทศ หรือมันสำปะหลัง ตีนูตวนเป็นอาหารที่มีจุดกำเนิดที่มานาโด จังหวัดสุลาเวสีเหนือ แต่บางคนก็บอกว่ามาจากมีนาฮาซา จังหวัดสุลาเวสีเหนือ ไม่ทราบที่มาของคำว่าตีนูตวน และไม่ทราบจุดกำเนิดแต่เริ่มเป็นที่นิยมระหว่างช่วง พ.ศ. 2513 – 2524 รัฐบาลท้องถิ่นของมานาโดกำหนดให้ตีนูตวนเป็นสัญลักษณ์ของเมือง นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า กินกับปลาเค็ม ซัมบัล หัวหอมทอด ในมานาโดจะรับประทานตีนูตวนกับปลารมควัน ซัมบัล และกะปิ


เทมเปะห์หรือเทมเป้  เป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองแบบพื้นบ้านของอินโดนีเซีย เป็นอาหารที่เตรียมด้วยการหมักจนถั่วเหลืองกลายเป็นแท่งคล้ายเค้ก เป็นอาหารหมักจากถั่วเหลืองเพียงชนิดเดียวที่อยู่นอกอิทธิพลของจีน


นาซิกูนิง (ภาษาอินโดนีเซีย:Nasi Kuning) หรือนาซิกุนยิต เป็นอาหารประเภทข้าวของอินโดนีเซีย ปรุงกับกะทิและขมิ้น คำว่านาซิกูนิงแปลตรงตัวว่าข้าวสีเหลือง บางครั้งจะจัดเป็นรูปกรวยแหลมเรียกตุมเปง ใช้ในโอกาสพิเศษเป็นเครื่องหมายของโชคดี และความมั่งคั่ง เครื่องเคียงที่นิยมรับประทานด้วยคือ ไข่เจียวฝอย มะพร้าวขูดผสมเครื่องเทศ อูรับ ปลาร้าผัดถั่วลิสง เทมเป้ผัดกับซัมบัลและมันฝรั่ง ไก่ทอดแบบชวา ซัมบัลกุ้ง ปอดวัวทอด เนื้อวัวหรืออาหารทะเล บางครั้งกินกับข้าวเกรียบกุ้ง และแตงกวาหั่น

นาซิอูดุก (Nasi uduk) เป็นข้าวนึ่งแบบอินโดนีเซีย หุงกับกะทิ ที่มีจุดเริ่มต้นจากจาการ์ตา ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วทั้งประเทศ นาซิอูดุกเป็นอาหารที่นิยมในชุมชนเร่งด่วนในจาการ์ตา พบได้ตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้าจนถึงกลางคืน
นาซิอูดุกในภาษาอินโดนีเซียแปลว่า “ข้าวผสม” เพราะการเตรียมอาหารต้องการส่วนผสมมากกว่าการหุงข้าวธรรมดา และมีเครื่องเคียงที่ต่างกันไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น