อาหารของประเทศสิงคโปร์

อาหารของประเทศสิงคโปร์


อาหารสิงคโปร์ เป็นตัวบ่งชี้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสิงคโปร์ ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย และได้มีปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมมานานนับศตวรรษ อาหารได้รับอิทธิพลจากชาวพื้นเมืองมลายู ชาวจีน อินโดนีเซีย เปอรานากัน วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งมาจากอังกฤษ และกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลโปรตุเกสซึ่งเรียกชาวคริสตัง อิทธิพลจากพื้นที่อื่นๆ เช่น ศรีลังกา ไทย ฟิลิปปินส์ และตะวันออกกลาง พบในอาหารพื้นเมืองเช่นกัน ในสิงคโปร์ อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการกำหนดเอกลักษณ์ของชาติและความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในสิงคโปร์ การพบปะและรับประทานอาหารระหว่างวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติ อาหารสิงคโปร์ถูกส่งเสริมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดเทศกาลอาหารสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคมเพื่อส่งเสริมอาหารสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กที่มีประชากรหนาแน่นมาก ที่ดินเป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงส่วนใหญ่นำเข้ามา แม้ว่าจะมีกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็กที่ปลูกผัก ผลไม้ หรือสัตว์ปีกและปลา เนื่องจากสิงคโปร์ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญ จึงสามารถพบผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงทั่วโลกได้ที่นี่

เครื่องดื่ม


เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมในสิงคโปร์ ได้แก่
  • เฉาก๊วย (ภาษาจีน: 仙草水; pinyin: xiān cǎo shuǐ) เป็นเครื่องดื่มรสหวาน ใส่เฉาก๊วย
  • บาร์เลย์มะนาว (柠檬薏米水)
  • น้ำแห้ว (马蹄水)
  • น้ำเต้าหู้ (豆奶/豆花水)
  • ชาเก๊กฮวย (菊花茶)
  • บันดุง เป็นน้ำเชื่อมกุหลาบ ใส่นมระเหย
  • ชาฟอง แบบดั้งเดิมจะใส่ลูกโบบาทำจากมันสำปะหลังผสมกับคาราจีแนนลงในชาดำใส่นมแล้วเขย่า
  • น้ำอ้อยแบบคั้นสด
  • ชาขิงผสมกับนมระเหย
  • เบียร์ไทเกอร์

1. ลักซา
Laksa - รับแปลภาษา
มีลักษณะคล้ายข้าวซอย โดยจะใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว กุ้ง ลูกชิ้นปลา ไข่เจียวหั่นฝอย และหอยแครง ต้มในน้ำกะทิ และชื่อของลักซา ก็มาจากการที่จะโรยใบลักซา (ผักแพว) ลงบนอาหาร ก่อนจัดเสิร์ฟ
2. ข้าวมันไก่

ข้าวมันไก่สิงคโปร์ ถือเป็นอาหารยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศเลยก็ว่าได้ โดยมีต้นกำเนินมาจากชาวจีนไหหลำที่ย้ายถิ่นฐานมาสร้างครอบครัวกันที่สิงคโปร์ ซึ่งก็จะคล้ายกับประเทศไทยที่เมนูข้าวมันไก่ ถือเป็นเมนูยอดฮิตเช่นกัน ทั้งนี้ก็อาจจะเพราะ หาทานได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องรอนาน แถมยังอิ่มทนนานอีกด้วย
3. บักกุ๊ตเต๋  (Bak Kut Teh)

เป็นน้ำซุปแบบจีนๆ ซึ่งชื่อบักกุ๊ดเต๋นั้น มีความหมายว่า “น้ำชากระดูกและเนื้อสัตว์” โดยส่วนประกอบหลักๆก็นิยมต้มซี่โครงอ่อน ในน้ำซุปที่ใส่สมุนไพรและเครื่องเทศหลายชนิด มีลักษณะรสชาติเผ็ดร้อน จากพริกไทยและเมล็ดยี่หร่า โดยจะมีสรรพคุณคือ บำรุงร่างกาย ให้เลือดลมไหลเวียนดี และสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย
4. คายาโทสต์ (Kaya Toast)

อาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากชาวจีนไหหลำ จัดเป็นอาหารขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของชาวสิงค์โปร์เหมือนกัน จะมีลักษณะคือเป็นขนมปังปิ้งแบบกรอบมากๆ ทาเนยและสังคยา มักจะเสิร์ฟเป็นชุด คู่กับ ไข่ลวกซอสดำ และกาแฟร้อนๆ  สรรพคุณความกรอบของคายาโทสต์ที่สิงคโปร์ เป็นที่รู้ได้ดีว่า ต่างจากขนมปังกรอบทั่วไปจริงๆ เพราะความกรอบของคายาโทสต์จะกรอบมากกกกกก
5.ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง ลักชามีหลายประเภททั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ


6.ปูพริก เป็นอาหารสิงคโปร์แท้ ๆ ดั้งเดิมโดยพ่อครัวชาวสิงคโปร์ที่ชื่อว่า  CherYam ในปี ค.ศ. 1950 สามารถ
            พบ
ได้ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ แม้ปูพริกจะชื่อว่าปูพริกแต่ก็รสชาติไม่เผ็ดมาก  

                                                       


7.หย่งเต่าฝู่ (Yong Tau Foo) หรือก็คือต้นตำหรับ เย็นตาโฟของบ้านเรานั่นเอง หย่งเต่าผู่ เป็นอาหารของชาวจีนแคะ ประกอบด้วยเต้าหู้นานาชนิด มีทั้งที่สอดใส้ลูกชิ้นปลา เต้าหู้ทอด ฟองเต้าหู้ เกี๋ยว ลูกชิ้นปลา นอกจากนี้ยังมี กระเจี๊ยบยัดใส้ลูกชิ้น มะเขือยาวยัดใส้ พริกยัดใส้ ปกติการสั่งหย่งเต่าฝู่แต่ละร้านจะมีถาดให้เราได้เลือกหยิบได้ตามที่ต้องการ โดยคิดราคาต่อชิ้น เมื่อหยิบได้เป็นที่เรียบร้อยก็ส่งให้ทางร้านไปปรุง ส่วนใหญ่จะทำเป็นน้ำซุปใสราดด้วยซอสข้น ทานกับข้าวสวยหรือบะหมี่ แต่ที่ผมจะพาไปแนะนำนั้นเป็นหย่งเต่าฝู่แบบแห้งที่หากินไม่ง่ายนักในสิงคโปร์



 8.บักกุ๊กเต๋ (Bak Kut Teh) อาหารจานเด็ดอีกชนิดหนึ่งของสิงคโปร์ สันนิษฐานว่าถูกนำมาพร้อมกับแรงงานชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลฟูเจี้ยนในช่วงคริสตศวรรษที่ 19 คำว่า บักกุ๊กเต๋ แปลว่าซุปกระดูกหมู ลักษณะเป็นซุปกระดูกหมูสีเข้ม อุดมไปด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร ร้านส่วนใหญ่เสิร์ฟบักกุ๊กเต๋ พร้อมเครื่องเคียงอย่างผักกาดแก้วหรือผักกวางตุ้งไต้หวันผัดน้ำมันหอย ถั่วลิสงต้ม แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ปาท่องโก๋ที่หั่นเป็นชิ้นๆสำหรับจุ่มกับซุปกระดูกหมูจนชุ่ม ทานพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ

9.นาซี ลมะก์ (Nazi Lemak) เมนูอาหารเช้าของชาวมาเลย์ที่ปัจจุบันมิใช่เพียงชาวมาเลย์เท่านั้นที่ชื่นชอบ นาซี ลมะก์ ยังเป็นที่นิยมของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนและอินเดียอีกด้วย นาซี ละมะก์ เป็นภาษามาเลย์แปลว่าข้าวมัน เป็นการหุงข้าวเจ้ากับกะทิ รับประทานกับเครื่องเคียงที่ประกอบด้วย ปีกไก่ทอด ไข่ดาว ถั่วลิสง ปลากรอบ และน้ำพริก บางครั้งในศูนย์อาหาร เราจะนาซี ลมะก์ห่อด้วยใบเตย เป็นอาหารจานด่วนของชาวสิงคโปร์ที่ซื้อหาติดตัวได้สะดวก แต่ร้านชื่อดังที่ผมได้ไปลิ้มลองมานั้นอยู่ออกนอกเมืองไปพอสมควร แต่ก็เดินทางสะดวกด้วย MRT ไปลงที่สถานี Botanic Garden หลังจากนั้นเดินข้ามถนนมา จะพบกับศูนย์อาหารที่มีร้าน นาซี ลมะก์ ชื่อดังถึง 2 ร้านติดกัน สังเกตุได้จากความยาวของแถวที่มาต่อคิวซื้อข้าวมันทรงเครื่องนี้ อันที่จริงเคล็ดลับความอร่อยของนาซี ลมะก์ อยู่ที่น้ำพริกที่ออกหวานนิดๆ กลมกล่อมด้วยกลิ่นเครื่องเทศ คลุกกับข้าวมันหอมๆ และไก่ทอดหนังกรอบ จึงไม่แปลกใจว่าทำไม นาซี ลมะก์ ของที่นี่จึงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวสิงคโปร์





10. อาหารพารานากัน (Peranakan Cuisine) อาจเป็นคำพูดที่ไม่เกินเลยไปนัก ถ้าจะบอกว่าใครที่มาถึงสิงคโปร์แล้วยังไม่ได้ลิ้มลองอาหารพารานากัน เหมือนกับมาไม่ถึงสิงคโปร์ เพราะอาหารชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวพารานากันที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น คำว่าพารานากัน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดินทางเข้ามายังดินแดนแถบแหลมมลายูและมีการแต่งงานกับชนพื้นเมืองชาวมาเลย์ เกิดเป็นลูกผสมซึ่งมีทั้งจีน-มาเลย์ อินเดีย-มาเลย์ และลูกครึ่งตะวันตก โดยนิยมเรียกหญิงพารานากันที่มีเชื้อสายจีนว่า นอนยา (Nyonya) หรือทางภาคใต้ของบ้านเราเรียกว่า ย่าหยา นั่นเอง ดังนั้นบางครั้งเราอาจได้ยินชื่ออาหารพารานากันในอีกชื่อคือ อาหารนอนยา 
อาหารพารานากัน มีความละเอียดอ่อนทั้งในเรื่องของกรรมวิธี การเตรียมวัตถุดิบที่ใช้เวลามากและเครื่องปรุงที่ซับซ้อน ลักษณะของอาหารพารานากัน คือการผสมผสานอาหารจีนเข้ากับอาหารมาเลย์ และอาหารอินโดนีเซีย โดยประกอบด้วยวัตถุดิบที่คนไทยคุ้นเคยเช่น กะทิ พริก น้ำมะขามเปียก กะปิ ลักษณะอาหารพารานากัน จะว่าไปก็คล้ายกับแกงต่างๆของบ้านเรา มีบ้างที่บางชนิดอาจมีหน้าตาต่างกันออกไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น