อาหารประเทศไทย

อาหารประเทศไทย


อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมา

จุดกำเนิดอาหารไทย อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้

 
สุโขทัย
·         สมัยสุโขทัย
อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึกและวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้งส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน


 
อยุธยา
·         สมัยอยุธยา

สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทยได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออกจากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่ายยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกงและคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา                                      หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติ ต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายที่ ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด

 
 ธนบุรี
·         สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธย และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์  โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน [แก้] สมัยรัตนโกสินทร์ การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่ นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ จนถึงรัชกาลที่ และยุคที่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้

 รัตนโกสินทร์
·         สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)                                                                                                                
  อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรีแต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาวอาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต)                                   ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม                                                                                                                                                                           
        บทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิด ซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่น และรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทยจากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหาร คาวหรือกับข้าวและอาหารว่าง                                                                                                                              
              ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น                   นอกจากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้ง เรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้นทั้งชนิดของอาหารคาว และอาหารหวาน



1. ขนมจีนน้ำยา เป็นอาหารมงคลที่นิยมนำมาใช้ในงานพิธีแต่งงาน เนื่องจากมีต้องการให้ความรักของบ่าวสาวยืดยาวเหมือนกับเส้นขนมจีน

2. ผัดไทยเส้นจันทร์ ในอดีตนิยมนำผลจันทร์มาทำขนม เพราะเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นหอม ชวนหลงใหล แทนความหมายว่าจะมีเสน่ห์ มีแต่คนมารักใคร่ เมื่อนำมาใช้เป็นชื่อเรียกว่าเส้นจันทร์จึงทำให้มีความหมายไปในแง่ของความรัก ความหลงใหล และนอกจากนี้ยังให้ความหมายในเรื่องอายุยืนนานอีกด้วยค่ะ

3. ห่อหมก อาหารที่มีรสชาติเผ็ดถึงเครื่อง มีส่วนผสมของพริกแกงและสมุนไพรนานาๆชนิด คนไทยนิยมนำมาจัดวางไว้ในพิธีแต่งงาน เพราะอยากให้บ่าวสาวได้รักกันยาวนาน ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง ให้ต้องรำคาญใจ ดังสำนวนที่


4. ลาบ เป็นได้ทั้งอาหารอีสานและอาหารเหนือ มีขายอยู่ทั่วไปหาทานได้ง่าย รสชาติอร่อย แซ่บถึงใจ เมื่อเราออกเสียงลาบ จะไปคล้องเสียงกันกับคำว่า ลาภ ซึ่งแปลว่าโชคลาภ เงินทอง พบเห็นได้ตามงานมงคลต่างๆ ดังนั้นจึงจัดเป็นอาหารมงคลอีกหนึ่งอย่างที่รสชาติอร่อยถูกปากคนไทยอย่างแน่นอนค่ะ

5. ขนมจีบ เป็นตัวแทนของคู่รัก และความรัก ยิ่งคู่สามีภรยาที่แต่งงานกันมานานหลายปี จนเกิดความเบื่อหน่ายกันบ้าง แนะนำให้หาขนมจีบมากินเป็นการแก้เคล็ด เพื่อให้ความรักหวานชื่นเหมือนในช่วงที่จีบกันใหม่ๆค่ะ




6. เมนูปลา และ ลูกชิ้นปลา นอกจากคุณประโยชน์เรื่องความฉลาดจากสารอาหารแล้ว ปลาในภาษาจีน ยังไปคล้องเสียงกันคำว่า หยูวี้ ที่แปลว่าร่ำรวย เหลือกินเหลือใช้ไม่ขัดสน เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะลูกชิ้นปลา ที่มีรูปร่างกลม จะหมายถึงความร่ำรวยที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอินฟินิตี้ จึงไม่แปลกใจที่ปลาจะกลายมาเป็นเมนู อาหารมงคล ที่หาทานได้ง่ายและมีประโยชน์มาก


6. เมนูปลา และ ลูกชิ้นปลา นอกจากคุณประโยชน์เรื่องความฉลาดจากสารอาหารแล้ว ปลาในภาษาจีน ยังไปคล้องเสียงกันคำว่า หยูวี้ ที่แปลว่าร่ำรวย เหลือกินเหลือใช้ไม่ขัดสน เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะลูกชิ้นปลา ที่มีรูปร่างกลม จะหมายถึงความร่ำรวยที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอินฟินิตี้ จึงไม่แปลกใจที่ปลาจะกลายมาเป็นเมนู อาหารมงคล ที่หาทานได้ง่ายและมีประโยชน์มาก



8. เมนูเต้าหู้ เป็นตัวแทนของอาหารแห่งความสุข ในภาษาจีนมีความหมายว่าสุขใจ นิยมนำมาประกอบอาหารในงานมงคลต่างๆ เป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์ครบถ้วนและหาซื้อได้ง่ายอีกด้วยค่ะ


9. ต้มจืด คนโบราณเปรียบการซดน้ำแกงร้อนๆ รสชาติลื่นคอ ไม่เผ็ดร้อน ของต้มจืด ว่าจะทำให้ชีวิตราบรื่น ไม่มีอุปสรรค และยิ่งเป็นตามจืดเต้าหู้สาหร่าย จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความมหายดีๆทวีคูณ เพราะสาหร่าย มีความหมายในเรื่องของความร่ำรวยไม่มีที่สิ้นสุด



10. ขนมหวานตระกูลทอง คนไทยรู้จักกันในงานมงคลต่างๆเกือบทุกงาน ต้องห้ามพลาดที่จะจัดไว้สำหรับเลี้ยงพระ เลี้ยงแขก เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ซึ่งให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป แต่เป็นไปในทิศทางดียวกันคือเรื่องของความร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี มีคนนับน่าถือ ให้ความเคารพ รสชาติไม่ต้องพูดถึง อร่อยชนิดที่หาขนมอื่นมาเปรียบได้ยาก แต่อย่าทานมากเกินนะคะ เพราะน้ำตาลสูงมากจริงๆจ้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น